ใน , , ,

วิธีต่อภาษีรถออนไลน์ผ่านแอป DLT Vehicle Tax ต่อง่าย ๆ ผ่านมือถือ ส่งเอกสารถึงบ้าน

สำหรับใครที่เตรียมตัวต่อภาษีรถยนต์ในปี 2567 ทีมงานมีวิธีการต่อภาษีรถยนต์ง่าย ๆ ผ่านแอป DLT Vehicle Tax ที่สะดวกรวดเร็ว พร้อมบริการจัดส่งเอกสารถึงที่บ้าน มาชมวิธีกันเลย

วิธีต่อภาษีรถออนไลน์ผ่านแอป DLT Vehicle Tax ต่อง่าย ๆ ผ่านมือถือ ส่งเอกสารถึงบ้าน

ก่อนอื่นให้เราดาวน์โหลดแอป DLT Vehicle Tax มาติดตั้งบนสมาร์ตโฟนของเราก่อน

หลังจากที่เราติดตั้งแอปบนสมาร์ตโฟนของเราแล้ว ให้เราเปิดแอปและเริ่มต้นลงทะเบียน โดยกรอกข้อมูลส่วนตัว และแตะเลือก “กดเพื่อรับรหัส OTP” รหัส OTP จะถูกส่งไปยังอีเมล (Email) ที่เราลงทะเบียน จากนั้นก็ยืนยัน OTP ให้เรียบร้อย > เลือกแถบชำระภาษีรถ > เลือกรูปแบบการชำระภาษี ตัวอย่างเลือกเป็น ชำระภาษีรถตนเอง > กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาเจ้าของรถยนต์ > แตะปุ่ม ไปหน้าต่อไป

เลือกประเภทรถ ตัวอย่างเป็น รถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) > กรอกข้อมูลทะเบียนรถ แล้วเลือกไปหน้าต่อไป > กรอกข้อมูลประกันภัยรถ (พ.ร.บ.) ให้เรียบร้อย (หาก พ.ร.บ. หมดอายุ จำเป็นจะต้องต่อให้เรียบร้อยก่อนที่จะชำระภาษี) > แตะปุ่ม ยืนยัน

เลือกช่องทางการรับเอกสารเป็น รับเครื่องหมายฯ ทางไปรษณีย์ > กรอกข้อมูลที่อยู่ที่จะรับเอกสารภาษีให้ถูกต้อง และแตะปุ่ม บันทึกข้อมูล > ยืนยันการบันทึกข้อมูล

แอปจะสรุปค่าภาษี, เงินเพิ่ม (กรณีจ่ายล่าช้า) และค่าจัดส่ง ให้เราแตะปุ่ม ไปหน้าถัดไป > เลือกช่องทางการชำระเงิน ตัวอย่างเลือกเป็นชำระผ่าน QR > นำ QR ไปสแกนชำระในแอปธนาคารได้เลย

เมื่อชำระค่าภาษีรถยนต์เรียบร้อยแล้ว เราสามารถเช็คสถานะการชำระและหมายเลขพัสดุสำหรับจัดส่งเอกสารได้ที่ แถบประวัติชำระเงิน > เลือกทะเบียนรถที่เราชำระแล้ว > เลือกปีที่ชำระ > เราก็จะเห็นสถานะว่าชำระภาษีรถสำเร็จ สามารถแตะเข้าไปดูรายละเอียดได้

แตะ กดเพื่อตรวจสอบข้อมูลรถยนต์ > เราก็จะพบรายละเอียดของรถและข้อมูลการชำภาษี เลื่อนลงด้านล่างก็จะมีหมายเลขพัสดุที่จัดส่งเอกสาร สามารถนำไปตรวจสอบการจัดส่งในเว็บไปรษณีย์ไทยได้เลย (หมายเลขพัสดุอาจจะไม่ได้แสดงทันทีหลังจากการชำระเงิน อาจจะแสดงภายใน 1-3 วัน)

นอกจากนี้ภายในแอปเรายังสามารถดูข้อมูลอื่น ๆ ได้ เช่น หน้าหลัก โปรไฟล์ ตำแหน่งของตู้ภาษี

และนี่ก็คือวิธีการชำระภาษีออนไลน์ผ่านแอป DLT Vehicle Tax ง่าย ๆ ทำได้สะดวก รวดเร็ว และรอรับเอกสารถึงบ้าน โดยไม่ต้องเดินทางไปที่ขนส่ง สามารถชำระภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน ก่อนวันภาษีหมดอายุ

นอกจากนี้ทางกรมการขนส่งยังมีเว็บไซต์สำหรับชำระภาษีด้วย หากใครสะดวกทำผ่านเว็บไซต์ก็สามารถดำเนินการได้ที่ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf ขั้นตอนก็จะคล้าย ๆ กัน

แสดงความคิดเห็น

เขียนโดย Sakura P.