Cybertruck ถือเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของยานยนต์ Tesla ถึงแม้ว่าจะมีการเปิดตัว Model Y รุ่นใหม่ไม่นานมานี้ แต่ก็ยังไม่เห็นเทคโนโลยีจาก Cybertruck มาสู่ Model Y ใหม่ สิ่งที่น่าสนใจคือในงานประชุมผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ปี 2024 ไม่กี่วันที่ผ่านมา Tesla เปิดเผยว่ายานยนต์ในอนาคตจะใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติที่มีเฉพาะใน Cybertruck มาชมกันว่าในกระบะรุ่นนี้มีเทคโนโลยีอะไรบ้าง
เทคโนโลยีจาก Cybertruck อาจมาสู่รถยนต์ Tesla ในอนาคต มีเทคโนโลยีอะไรบ้าง มาชมกัน
คุณสมบัติที่เป็นเอกสิทธิ์ของ Cybertruck
โครงสร้างภายนอกสแตนเลสสตีล (Stainless Steel Exoskeleton)
โครงภายนอกแบบสแตนเลสสตีลรีดเย็นของ Cybertruck มีลักษณะเฉพาะ โดยมีความแข็งแรงและมีน้ำหนักเยอะ จึงทำให้เกิดข้อสัยว่า Tesla จะนำโครงสร้างตัวถังภายนอกแบบนี้ไปใช้กับรถประเภทอื่นหรือไม่ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ยาก เว้นแต่ว่า Tesla มีแผนจะทำ CyberSUV
กระบวนการผลิตดัดด้วยลม (Air Bending Manufacturing Process)
Tesla ใช้กระบวนกดัดด้วยลมเฉพาะ โดยดัดตัวถังสแตนเลสรีดเย็นได้โดยไม่ต้องสัมผัสสแตนเลสสตีล การดัดนี้เป็นวิธีที่ Tesla สร้างรูปทรงของ Cybertruck ให้โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์
ด้านการผลิตและการออกแบบ
เทคโนโลยี Giga Castings
Model Y หล่อขึ้นรูปด้วยเครื่องหล่อปั๊ม Gigapress ขนาด 6,000 ตัน ส่วน Cybertruck ใช้เครื่องหล่อปั๊มขนาด 9,000 ตันในการสร้างโครงสร้างด้านหน้าและด้านหลัง กระบวนการนี้ ช่วยลดจำนวนชิ้นส่วนของรถและลดความซับซ้อนในการประกอบขั้นสุดท้าย ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ต้นทุนต่ำลง
ผสมผสานระบบเสียงกับโครงสร้างตัวถัง (Integrated Audio with Body Structure)
เทคโนโลยี Giga Casing ได้รับการออกแบบมาเพื่อส่งเสียงจากซับวูฟเฟอร์ของ Cybertruck ซึ่งเป็นระบบเสียงแบบตอบสนอง ช่วยให้ส่งเสียงไปยังผู้โดยสารในรถได้ ทำให้เสียงชัดเจนและตอบสนองได้ดีขึ้น
ด้านระบบส่งกำลังและสถาปัตยกรรมไฟฟ้า
สถาปัตยกรรมไฟฟ้า 48V (48-Volt Electrical Architecture)
สถาปัตยกรรมไฟฟ้าแรงดันต่ำ 48V ที่มาพร้อม Cybertruck มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ช่วยลดต้นทุนการเดินสายไฟภายในรถได้ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าลดลง 4 เท่า ในขณะที่ความร้อนที่เกิดขึ้นก็ลดลง 16 เท่า เมื่อเดียวกับการเดินสายไฟ 12V แบบเดิม
โดยรวมแล้ว การเดินสายไฟแบบ 48V ใช้สายไฟน้อยลง ส่งผลให้น้ำหนักลดลง และระบบไฟฟ้าเรียบง่ายขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพด้านพลังงานเพิ่มขึ้นด้วย
ระบบแบตเตอรี่ 800V (800-Volt Battery System)
ในด้านสถาปัตยกรรมแบตเตอรี่ Tesla ได้ใช้ระบบส่งกำลังแรงดันไฟฟ้าที่สูงขึ้น ทำให้ยานพาหนะขนาดใหญ่ที่ต้องใช้พลังงานสูงมีประสิทธิภาพดีขึ้น ประโยชน์ของสถาปัตยกรรม 800V ก็คล้ายกับสถาปัตยกรรมไฟฟ้า 48V คือ ใช้สายไฟเล็กลง สร้างความร้อนน้อยลง และลดต้นทุนการเดินสายไฟ
นอกจากนี้ สถาปัตยกรรมแบตเตอรี่ 800V ยังช่วยให้กระบะ Cybertruck เป็นรถ Tesla คันแรกที่ชาร์จเร็วได้ 325 kW และจะเพิ่มเป็น 500 kWh ในเร็ว ๆ นี้
สถาปัตยกรรมการเชื่อมต่อ Etherloop (Etherloop Communication Architecture)
สถานปัตยกรรมไฟฟ้าแรงดันต่ำ 48V ยังช่วย Tesla ใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อแรงดันต่ำภายในรถยนต์ด้วย Low-Voltage Connector Standard (LVCS) ได้ เพิ่มประสิทธิภาพการเดินสายไฟให้สามารถสื่อสารได้ทั่วทั้งรถ [อ่านข้อมูลเพิ่มเติม]
เราจะแผนผังการเชื่อมต่อสายไฟทั้งหมด และสามารถระบุตำแหน่งที่ผิดพลาดได้ ซึ่งแผนผังนี้จะช่วยให้ช่างเทคนิคค้นหาขั้วต่อเพื่อเปลี่ยนหรือซ่อมแซมได้ง่ายมากขึ้น
การชาร์จแบบ 2 ทิศทาง (Powrshare)
Cybertruck เป็นรถ Tesla คันแรกที่มีคุณสมบัติ Powrshare คือ การชาร์จ 2 ทิศทาง หรือที่เรารูจักกันในชื่อ Vehicle-to-Load (V2L) หรือ Vehicle-to-Home (V2H)
ถ้าหาก Tesla นำคุณสมบัตินี้ไปใส่ในรถยนต์รุ่นอนาคต รถยนต์เหล่านั้นก็จะสามารถจ่ายไฟให้กับบ้าน รถยนต์ไฟฟ้าคันอื่น หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้ [อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม]
ด้านการขับขี่และความสบาย
กระจกลามิเนต (Custom Laminated Glass)
Tesla ได้ใช้กระจกลามิเนตใหม่กับกระจกบังลม กระจกด้านข้าง และกระจกหลังใน Cybertruck ซึ่งกระจกตัวนี้ช่วยปรับปรุงการแยกเสียงรบกวน และป้องกันรังสี UV ได้ในระดับหนึ่ง ทำให้ภายในรถเย็นลงได้
ระบบกันสะเทือนถุงลมแบบปรับได้ (Adaptive Air Suspension)
ระบบกันสะเทือนถุงลมแบบปรับได้ใน Cybertruck ทำให้ระมีระยะห่างจากพื้นสูงสุด 12 นิ้ว ถึงแม้ว่ารถรุ่น Model S และ Model X จะมีระบบกันสะเทือนถุงลมแบบปรับได้อยู่แล้ว แต่ใน Cybertruck นั้นให้ความนุ่มนวลและสะดวกสบายมากกว่า ในเวลาที่ขับขี่บนทางที่ขรุขระ
ระบบบังคับเลี้ยวไฟฟ้า (Steer-by-Wire)
Steer-by-Wire หรือ ระบบบังคับเลี้ยวไฟฟ้า คือระบบควบคุมพวงมาลัยด้วยไฟฟ้าแทนกลไกแบบเดิม พวงมาลัยจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังมอเตอร์ให้หมุนล้อจริง
ระบบบังคับเลี้ยวไฟฟ้านี้จะปรับอัตราส่วนการเลี้ยวอัตโนมัติตามความเร็วของรถ ทำให้การควบคุมรถมีความแม่นยำและราบรื่นมากขึ้น เช่น เวลายูเทิร์นหรือจอดรถ ผู้ขับขี่ไม่จำเป็นต้องหมุนพวงมาลัยหลายรอบ
ระบบบังคับเลี้ยวล้อหลัง (Rear Wheel Steering)
ระบบบังคับเลี้ยวล้อหลังใน Cybertruck ช่วยให้รถมีรัศมีวงเลี้ยวที่แคบลง ทำให้การเลี้ยวรถง่ายขึ้น นอกจากนี้ ระบบบังคับเลี้ยวล้อหลังยังเพิ่มความเสถียรภาพของรถเมื่อขับขี่ด้วยความเร็วสูง โดยการเอียงล้อเข้าด้านในเมื่อมีการเปลี่ยนเลน
คาดการณ์: คุณสมบัติไหนที่มีโอกาสนำไปใช้ในรถยนต์รุ่นใหม่
หลังจากที่เราได้ทราบคุณสมบัติที่มีประโยชน์ใน Cybertruck แล้ว ต่อไปมาคาดการณ์กันดีกว่าว่า คุณสมบัติไหนบ้างที่มีความเป็นไปได้จะนำไปใช้ในยานยนต์ Tesla รุ่นใหม่ในอนาคต
คุณสมบัติ | การใช้งานในอนาคต |
โครงสร้างภายนอกสแตนเลสสตีล | ❌ |
กระบวนการผลิตดัดด้วยลม | ❌ |
เทคโนโลยี Giga Castings | ✅ |
ผสมผสานระบบเสียงกับโครงสร้างตัวถัง | ✅ |
สถาปัตยกรรมไฟฟ้า 48V | ✅ |
ระบบแบตเตอรี่ 800V | ✅ |
สถาปัตยกรรมการเชื่อมต่อ Etherloop | ✅ |
การชาร์จแบบ 2 ทิศทาง | ✅ |
กระจกลามิเนต | ✅ |
ระบบกันสะเทือนถุงลมแบบปรับได้ | ✅ |
ระบบบังคับเลี้ยวไฟฟ้า | ✅ |
ระบบบังคับเลี้ยวล้อหลัง | ✅ |
สรุป
ถึงแม้ว่า Cybertruck จะไม่ใช่รถยนต์ขายดีเหมือนกับ Model Y และ Model 3 แต่สิ่งสำคัญคือ เราได้เห็นเทคโนโลยีภายในที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ของ Tesla
ในตอนนี้ Tesla ยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่าคุณสมบัติบางอย่างบน Cybertruck จะใช้กับยานยนต์รุ่นใด แต่ก็คาดว่ายานพาหนะในอนาคตส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติเหล่านี้ ซึ่งช่วยลดต้นทุนและทำให้การชาร์จไฟเร็วขึ้น
ก็ต้องรอติดตามกันต่อไปว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ที่ Tesla ระบุว่าจะมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ ราคาประหยัด (ที่เรียกกันกว่า Model Q หรือ Project Redwood) จะมีสเปคเป็นอย่างไร และจะมีการนำเอาคุณสมบัติเหล่านี้มาใส่บ้างหรือไม่ รอเลย!
ที่มา notateslaapp