BYD สามารถกำไรสูงสุดครองแชมป์ผู้ผลิตรถยนต์จีนได้ ในไตรมาสแรกปี 2025 ทำให้ Tesla ถูกแซงทั้งยอดและมาร์จิ้น มาดูรายละเอียดอันดับกำไรของแบรนด์อื่น ๆ กันด้วยครับ
BYD ครองแชมป์อันดับ 1 กำไรสูงสุดผู้ผลิตรถยนต์จีน ไตรมาสแรกปี 2025 Tesla ถูกแซงทั้งยอดและมาร์จิ้น
ในไตรมาสแรกของปี 2025 ผู้ผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของจีนอย่าง BYD กลายเป็นแบรนด์ที่มีกำไรสุทธิต่อไตรมาสสูงสุด โดยทำรายได้สุทธิ 9.155 พันล้านหยวน (ประมาณ 64,200 ล้านบาท) พร้อมอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 20.7% ถือสูงกว่า Tesla ที่มีมาร์จิ้นเพียง 16.3% ในช่วงเวลาเดียวกัน
การลงทุนใน R&D สูงลิ่ว
แม้จะมีกำไรสูง แต่ BYD ได้ลงทุนมหาศาลด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยใช้เงินถึง 14.223 พันล้านหยวน (ประมาณ 99,800 ล้านบาท) ในไตรมาสเดียวถือมากกว่ากำไรสุทธิของบริษัทอีกด้วย
Geely ตามมาเป็นอันดับสอง
Geely รั้งอันดับ 2 ด้วยกำไรสุทธิ 5.672 พันล้านหยวน (ประมาณ 39,700 ล้านบาท) และมีอัตรากำไรขั้นต้นใกล้เคียงกับ Tesla ที่ 15.78% โดยมีค่าใช้จ่ายด้าน R&D อยู่ที่ 3.328 พันล้านหยวน (ประมาณ 23,400 ล้านบาท)
SAIC Group อยู่ในอันดับสาม
SAIC Group ทำกำไรสุทธิในไตรมาสแรกได้ 3.023 พันล้านหยวน (ประมาณ 21,200 ล้านบาท) และมีอัตรากำไรขั้นต้นที่ 8.13% แต่ทางเครือ SAIC ได้ลงทุนด้าน R&D มากกว่ากำไรที่ได้ โดยมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 3.881 พันล้านหยวน (ประมาณ 27,300 ล้านบาท)
สรุปภาพรวมกำไรสุทธิและงบ R&D ของผู้ผลิตรถยนต์จีน (เรียงตามกำไรสุทธิ)
-
อันดับ 1: BYD
-
กำไรสุทธิ: 9.155 พันล้านหยวน (64,200 ล้านบาท)
-
อัตรากำไรขั้นต้น: 20.7%
-
ค่าใช้จ่าย R&D: 14.223 พันล้านหยวน (99,800 ล้านบาท)
-
-
อันดับ 2: Geely
-
กำไรสุทธิ: 5.672 พันล้านหยวน (39,700 ล้านบาท)
-
อัตรากำไรขั้นต้น: 15.78%
-
ค่าใช้จ่าย R&D: 3.328 พันล้านหยวน (23,400 ล้านบาท)
-
-
อันดับ 3: SAIC Group
-
กำไรสุทธิ: 3.023 พันล้านหยวน (21,200 ล้านบาท)
-
อัตรากำไรขั้นต้น: 8.13%
-
ค่าใช้จ่าย R&D: 3.881 พันล้านหยวน (27,300 ล้านบาท)
-
-
อันดับ 4-10 ได้แก่: GWM, Changan, XPENG BAIC, Seres, Li Auto และ Leapmotor
Seres ครองแชมป์ด้านมาร์จิ้น
Seres มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงที่สุดถึง 27.62% ด้วยความสำเร็จของรุ่น Aito M9 ที่ได้เปิดตลาดรถหรูให้กับแบรนด์จีนได้เป็นเจ้าแรก ๆ
แบรนด์รถยนต์พลังงานใหม่เติบโตต่อเนื่อง
ผู้ผลิตรถยนต์พลังงานใหม่อย่าง Li Auto, Leapmotor และ XPENG ก็เริ่มขยับเข้าใกล้จุดคุ้มทุนมากขึ้น โดย Leapmotor และ XPENG ใกล้จะทำกำไรได้เต็มรูปแบบ
แม้เทคโนโลยีรถยนต์พลังงานใหม่จะยังอยู่ในช่วงพัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่การลงทุนใน R&D ถือเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม พบว่าในตารางที่กล่าวมามีเพียง Geely และ BAIC ที่มีค่าใช้จ่าย R&D ต่อไตรมาสน้อยกว่ากำไรสุทธิ
ในกรณีของ BAIC ค่าใช้จ่ายด้าน R&D ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับบริษัทอื่น ซึ่งน่ากังวลในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อ BAIC เป็นเจ้าของแบรนด์อย่าง Stelato และ Arcfox ที่ต้องแข่งขันในตลาดระดับสูง
ที่มา : Carnewschina