ใน ,

ผู้ผลิตรถยนต์เยอรมันประสบปัญหาในการผลักดันรถยนต์ไฟฟ้า EV

บริษัทรถยนต์สัญชาติเยอรมันหลาย ๆ เจ้า จำเป็นต้องลงทุนในการผลิตรถยนต์ทั้งสองฝั่งพร้อมกัน ทั้งฝั่งของรถยนต์ไฟฟ้า 100% (EV) และรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป ส่งผลให้กำไรนั้นทำได้น้อยลงกว่าที่ควร เพราะเหมือนกับว่าต้องลงทุนเป็นสองเท่านั้นเอง

ผู้ผลิตรถยนต์เยอรมันประสบปัญหาในการผลักดันรถยนต์ไฟฟ้า EV

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา Andreas Wolf CEO ของ Vitesco ประสบปัญหาในการเดินแผนการโน้มนาวให้นักลงทุน อย่าง Bavarian automotive supplier และ Vitesco Technologies ในการเข้ามามีบทบาทเฉพาะทางในการผลิตชิ้นส่วนหรือระบบให้กับรถยนต์ไฟฟ้า

แต่กลับได้คำตอบกลับมาว่า “ไม่มีใครอยากลงทุนเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้ากันหรอก” ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ ณ ตอนนั้น ชะล่าใจขนาดไหนที่ไม่ได้ตระหนักว่าเครื่องยนต์สันดาปนั้นจะกลายเป็นเพียงเทคโนโลยีในอดีตในไม่ช้า

Wolf ได้กล่าวว่า “มีคำโต้เถียงมากมายเกี่ยวกับการเข้ามาของยุครถยนต์ไฟฟ้า ว่ามันจะเป็นไปไม่ได้” และกล่าวอีกว่า “มันจะเปลี่ยนโลกภายในสองปีอย่างแน่นอน”

หลาย ๆ ปีนี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เจ็บปวดสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ของเยอรมันก็ว่าได้ ที่ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป มีการจ้างงานมากถึง 800,000 คนเลยทีเดียว บริษัทอย่าง BMW, Mercedes-Benz และ Volkswagen กำลังเริ่มมียอดผลิตรถยนต์ไฟฟ้า EV มากขึ้น ขณะที่บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนมีการลงในทุนมากขึ้นและนำโมเดลต่าง ๆ เข้ามาขายในยุโรปเช่นกัน

ดังนั้นช่วงการเข้ามาของรถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้านั้น ถือว่าท้าทายผู้ผลิตอย่างเยอรมันเป็นอย่างมาก และได้บีบให้ประสบกับปัญหาเศรษฐกิจที่ถดถอยลง และยังเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อและการเพิ่มของอัตราดอกเบี้ยอีกด้วย

ในช่วงสามปีที่ผ่านมาจนถึงปี 2023 ตัวเลขอัตราการว่างงานของผู้ผลิตรถยนต์แถวหน้า ถือว่ามีมากคิดเป็น 20 คนตกงานจาก 700 คน หรือเพียง 615 คน และช่วงนั้นตกเลขการว่างงานมากถึง 30,000 ตำแหน่ง จากตัวเลขที่ได้ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ

ในขณะที่ Vitesco ได้รีบเริ่มมาลงทุนในรถยนต์ไฟฟ้า EV ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าจับตามองท่ามกลางผู้ผลิตรถยนต์เอง และยังได้ดึงดูดคู่แข่งมาด้วย Wolf เองได้ติดสินใจจะออกจากบริษัทภายในปีนี้ ก่อนที่ผู้ผลิตรถยนต์อย่าง Schaeffler จะเข้าไปถือหุ้นใหญ่ให้กับ Vitesco

บริษัทเจ้าใหญ่ในเยอรมันอย่าง Schaeffler และ Continental ช่วงหลายปีที่ผ่านมาตัดสินใจเลิกจ้างพนักงานมากถึงหมื่นตำแหน่ง เพราะพวกเขาพยายามที่จะเพิ่มกำลังผลิตสำหรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในอนาคต

Bosch เองก็ได้ประกาศการเลิกจ้างงานถึง 1,200 ตำแหน่ง ขณะที่ ZF Friedrichshafen บริษัทรายใหญ่ที่คุมเกมในเยอรมันตอนใต้ ยังต้องเผชิญปัญหาเช่นกันทำให้ต้องออกมาวางแผนเลิกจ้างพนักงานถึง 12,000 ตำแหน่ง ภายใน 6 ปีนี้เช่นกัน

ด้วยแรงกดดันที่จำเป็นต้องรีบลงทุนในรถยนต์ไฟฟ้า EV ในเวลาเดียวกันกับการต้องคงไว้ในส่วนแบ่งตลาดของเครื่องสันดาป ในปี 2022 ผู้ผลิตเยอรมันลงทุนเพิ่มให้กับการวิจัยและพัฒนามากถึง 16 ล้านล้านยูโร (หรือประมาณ 6 แสนล้านบาทไทย) ตัวเลขอ้างอิงจากการรายงานของ PwC-owned consultancy Strategy&

Christian Kames หัวหน้าของ Lazard’s financial (บริษัทผู้ให้คำแนะนำด้านการเงินในเยอรมัน นิวซีแลนด์ และออสเตรีย) กล่าวว่า “ผู้ผลิตต้องลงทุนสองเท่าเพราะต้องทำถึง 2 แพลตฟอร์มพร้อม ๆ กัน แต่กลับไม่เติบโตและได้กำไรเลย”

แม้ว่า Vitesco ยังคงเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่สำหรับผู้ผลิตเครื่องยนต์สันดาป ที่ยังคงมีกำไร แต่กลับสูญเสียโอกาสอย่างมากในเรื่องของเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า แต่ Wolf กล่าวว่าตัวเขาเองยังคาดว่าจะได้เห็นกำไรประมาณ 7-9% ในปีช่วง 2-3 ปีข้างหน้านี้ “ในอีก 18 เดือน เราจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ถึง 75 ตัว ที่เรากำลังพยายามพัฒนาขึ้นมา” แม้ว่าช่วงปี 2022 บริษัทได้กำไรจากยอดการขายชิ้นส่วน EV ประมาณ 11% เท่านั้น หรือประมาณ 9 พันล้านยูโร ถือว่าคิดเป็น 3 ส่วน 4 ของยอดสั่งเพิ่มเลยทีเดียว สัดส่วนกำไรนี้ได้มาจากยอดขายทั่วโลก ผู้ผลิตรถยนต์จากเยอรมันมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั่วโลก 25% แต่ตัวเลขนั้นถือว่าลดลงจากปี 2019 ประมาณ 3% อ้างอิงจากการรายงานของ Strategy& ซึ่งยังถือว่ายังตามหลังคู่แข่งอีกหลายเจ้าจากเอเชียอยู่

โมเดลรถยนต์ใหม่ ๆ เริ่มไม่ได้ทำการตลาดในเรื่องของการเพิ่มขนาดเครื่องยนต์แล้ว แต่กลับไปมุ่งเน้นพัฒนาในเรื่องของความสามารถในซอฟต์แวร์ ลักษณะของเทคโนโลยีใหม่นี้ส่งผลให้เยอรมันที่เคยมีชื่อเสียงและสิ่งที่ถนัดมาอย่างยาวนานในเรื่องของอุตสาหกรรมยานยนต์อาจจะเติบโตช้ากว่าที่ควร

ในขณะที่ตัวเลขผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกนั้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในจีน และอเมริกา ส่วนของเยอรมันนั้นเริ่มที่จะเสียส่วนแบ่งทางการตลาดอย่างมากให้กับคู่แข่งอย่างจีน

Kames ได้กล่าวว่า “ทั้งผู้ชนะและผู้แพ้ในตลาด ต่างก็เปลี่ยนไปทั้งนั้น” ชี้ให้เห็นถึงการผลิตในแบตเตอรี่ไฟฟ้ายุคใหม่ รวมถึงการผลิตซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ให้กับยานยนต์ถือว่าเป็นโอกาสในการกอบโกยกำไรมหาศาลนี้ของผู้เล่นรายใหญ่ ๆ ที่หลายประเทศในเอเชียเอง เริ่มขยายและได้เข้ามาร่วมเล่นในตลาดนี้

แม้ว่าทางเยอรมันได้เข้าไปตีตลาดในประเทศจีนหลายเจ้า เช่น Volkswagen, Mercedes-Benz และ BMW แต่ลูกค้าของแบรนด์เหล่านี้ในจีนกลับไม่ได้ทำกำไรได้เยอะเหมือนแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าของจีนเองอย่าง BYD ที่เติบโตด้วยตัวเองทั้งเรื่องของการผลิต และการพัฒนาแบตเตอรี่ รวมถึงซอฟต์แวร์ด้วยตัวเอง

สำหรับ Schaeffler ในการเข้าไปร่วมลงทุนใน Vitesco จะอัดฉีดให้บริษัทถึง 600 ล้านยูโร ต่อปี จะช่วยให้การสามารถลงทุนทั้งรถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้า และรถเครื่องยนต์สันดาปไปพร้อม ๆ กันได้

การรวมกันของทั้งสองจะสามารถผลักดันการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า EV ไปได้ ในขณะที่ยังคงพยุ่งชิ้นส่วนในการผลิตของรถเครื่องยนต์สันดาปให้ยังคงอยู่ในตลาดไปได้อีกหลาย ๆ ปี Klaus Rosenfeld CEO Vitesco กล่าวไว้

Wolf ได้กล่าวว่า ขณะที่ Vitesco กำลังเพิ่งเริ่มทำในสิ่งที่ควรทำตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว ช่วงที่เขาเคยกล่าวไว้กับบริษัทว่า “อนาคตของรถเครื่องยนต์สันดาปกำลังจะจบลง” เสมือนว่าปัจจุบันทางเยอรมันเองต้องรีบลงเรือนี้ภายใต้สภาวะคลื่นซัดอย่างยากลำบากกันเอง

“มันเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก ๆ ไม่เพียงแต่สำหรับเราเท่านั้น แต่ลูกค้าเองก็กังวลเช่นกัน” Wolf ยังกล่าวอีกว่า “พวกเขาจะสามารถข้ามผ่านไปยังเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าได้เร็วแค่ไหน หรือพวกเขาจะยังคงหลงไหลอยู่กับเสียงเร่งเครื่องอันเร้าใจจากเครื่องยนต์สันดาปอยู่?”

ที่มา : Financial Times

 

แสดงความคิดเห็น

เขียนโดย Nuttanon P.