ใน , , , ,

ผู้ผลิตรถ EV จีนเร่งผลิตเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้าชน Tesla

ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเจ้าใหญ่ในจีนอย่างปักกิ่ง กำลังเดินหน้าลุยตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่แข่งขันอย่างดุเดือดทั้งในประเทศจีนเอง ที่ทางจีนต้องงัดไม้เด็ดนำเทคโนโลยีที่แปลกใหม่ที่ทาง Tesla เองยังไม่เคยทำมาก่อน เพื่อเป็นกลยุทธในการดึงดูดฐานลูกค้าคนจีนเอง อีกทั้งต้องทำราคาให้ได้ดีอีกด้วย

ผู้ผลิตรถ EV จีนเร่งผลิตเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้าชน Tesla

ช่วงไม่นานมานี้ หลาย ๆ เจ้าเริ่มจะไม่ได้โฟกัสในเรื่องระยะการวิ่งของรถยนต์ไฟฟ้า EV เป็นหลักเหมือนเมื่อก่อนแล้ว แทนที่จะรีบออกโมเดลใหม่ ๆ มาให้ไวที่สุด กลับมาโฟกัสที่การมอบประสบการณ์ด้านความสะดวกสบายและให้ฟีเจอร์ล้ำ ๆ เช่น จอโปรเจคเตอร์ ตู้เย็น และระบบช่วยการขับขี่ของผู้ใช้งาน

ภาพภายในของ Aito M9 SUV ที่ให้เบาะโดยสารตอนหน้าเอนลงได้สุด เพื่อเป็นที่พักขาสำหรับนั่งดูหนังที่นั่งตอนหลังอย่างเต็มอรรถรส พร้อมจอโปรเจคเตอร์ และตู้เย็นในรถ

รถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla นั้นไม่มีอุปกรณ์เสริมหรือ accessories มาให้เลย อีกทั้งปัจจุบัน Tesla ที่นำขายในจีนยังถูกจำกัดเวอร์ชั่นการใช้งานของระบบช่วยขับขี่อัตโนมัติอีกด้วย

Li Yi เป็น CEO ของบริษัท Appotronics (ผู้ผลิตจอ ระบบต่าง ๆ และ AR ด้วยเลเซอร์) กล่าวว่า “รถยนต์ไฟฟ้าในจีนเริ่มเป็นเหมือนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นเรื่อย ๆ แทบจะไม่ต่างจากอุตสาหกรรมโทรศัพท์เลย”

และกล่าวอีกว่า “ในจีน ผู้คนส่วนใหญ่มักจะชอบซื้อสินค้าที่ให้ความบันเทิงที่มีความล้ำ มีฟีเจอร์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ กลับกันที่ยุโรปผู้คนมักเลือกซื้อสินค้าที่ใช้งานได้ครบครันและคุ้มค่า”

จอ HUD ระบบ AR ของ Appotronics ที่ยิงด้วยเลเซอร์

ทาง Appotronics เคลมว่าจะทำจอโปรเจคเตอร์ขนาด 32 นิ้ว ที่สามารถพับได้ ให้กับรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่อย่าง Aito M9 SUV ของ Huawei

จากวันที่ 1 มกราคม 2024 Aito M9 SUV มียอดการสั่งซื้อกว่า 30,000 คัน จะเริ่มส่งมอบรถในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้

ตัวรถมาพร้อม 6 ที่นั่ง และมีตู้เย็น เบาะตอนหน้าทั้งสองสามารถพับเอนนอนได้เกือบสุด แทนที่คันนี้จะใช้จอหลังพวงมาลัยแบบปกติ จะใช้การฉายข้อมูลไปยังด้านหน้าที่ถนนด้วยระบบ AR และเลเซอร์แทน ที่เรียกว่า AR HUD ที่สามารถใช้รวมกับระบบนำทางอีกด้วย

Aito M9 SUV จะขายที่ราคา 470,000 หยวน ถึง 570,000 หยวน (ประมาณ 2.3 ล้าน ถึง 2.9 ล้านบาทไทย)

หากนำไปเทียบกับ Tesla Model Y รถ SUV ขนาดกลาง ที่ราคาขายในจีนเริ่มที่ 258,900 หยวน (ประมาณ 1.3 ล้านบาท) ขณะที่ Model S เริ่มที่ 698,900 หยวน (ประมาณ 3.5 ล้านบาท)

ท่ามกลางคู่แข่งที่รู้จักกันดีอย่าง Li Auto ที่รุ่น L9 SUV เริ่มต้นที่ 429,900 หยวน (ประมาณ 2.2 ล้านบาท) ที่มี AR HUD ตู้เย็น และระบบการขับขี่อัตโนมัติเหมือนกัน

Xpeng G9 SUV ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้นำระบบผู้ช่วยการขับขี่ ที่ใช้งานจริงได้ดีบนถนนเมือง ราคาเริ่มต้น 289,900 หยวน (ประมาณ 1.5 ล้านบาท)

อ้างอิงจากการสำรวจของ HSBC ในจีนนั้นมีรถยนต์ไฟฟ้าออกตัวโมเดลมาทั้งหมดเกือบ 100 รุ่น ที่ได้เปิดตัวในช่วงปี 2024

Yiming Wang นักวิเคราะห์จีน Renaissance Securities กล่าวว่า ลูกค้าต่างก็สนใจในรถโมเดลใหม่ ๆ ที่โฟกัสให้กับฟีเจอร์ใหม่ ๆ และความสามารถในระบบการขับขี่อัจฉริยะที่ดีขึ้น มากกว่ารถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรก ๆ หรือรถยนต์สันดาปยุคเก่า ๆ ที่ไม่ได้มีอะไรให้มาเพิ่มเพื่อตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน

Wang กล่าวอีกว่า ราคาและระยะที่วิ่งได้ต่อการชาร์จ ยังคงเป็นสิ่งที่ลูกค้าส่วนใหญ่ยังคงคำนึงก่อนเป็นเรื่องแรก ๆ อยู่เสมอ

Nio เองก็มีระบบล้ำ ๆ อย่าง SkyRide ระบบ Chasis ที่ช่วยให้ช่วงล่างนิ่งขนาดที่ว่าวางแก้วแชมเปญบนฝาเครื่องแล้วขับไปด้วยได้ ที่ได้นำไปใช้กับรุ่น Nio ET9 อีกทั้ง Nio ยังมีสถานีสลับแบตเตอรี่ให้บริการมากถึง 2,000 แห่งในจีนแล้ว

Zeekr เองก็ไม่ธรรมดาด้วยหน้าจอกลางที่สามารถปัดขยับย้ายไปต่ำแหน่งไปฝั่งผู้โดยสารข้าง ๆ ได้

ส่วน BYD ก็มีระบบช่วงล่างขั้นเทพอย่าง DiSus-X ที่ช่วยลดการโยนของตัวรถ และพยุงน้ำหนักตัวรถให้สมดุลแม้จะรถจะเหลือเพียง 3 ล้อก็ยังขับได้ ที่ได้เห็นโชว์ระบบนี้กับรถไฟฟ้าสปอร์ต YangWang U9

YangWang U8 ที่ไม่ใช่เพียงแต่ขับลุย off-road ได้แต่ยังสามารถลอยน้ำได้ด้วย เรียกระบบนี้ว่า Emergency float

ธุรกิจที่มีมูลค่ามากหลายล้านเหรียญดอลลาร์

CEO ของ Appotronic ยังคงคาดหวังว่าความต้องการในรถยนต์ไฟฟ้าที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ นั้นจะช่วยส่งเสริมยอดขาย “ได้มากถึง 100 กว่าล้านหยวน” สำหรับยอดขายภายในปีนี้ บริษัทผู้ผลิตในเซี่ยงไฮ้ต่างก็ทำยอดขายไปได้มากกว่า 300 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี

ถ้าถามถึง Tesla Li บอกว่า เขาไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดโปงรายระเอียดเกี่ยวกับผู้ผลิตฝั่งสหรัฐอเมริกา แต่กล่าวไว้เพียงว่า “ผู้คนคาดหวังการผลิตรถยนต์แตกต่างจากความต้องการของคนจีนอย่างมาก”

จากประสบการณ์ในการทำ Appotronic มา บอกได้ว่าลูกค้าชาวจีนเต็มใจและพร้อมที่จะจ่ายให้กับรถยนต์ระดับพรีเมียมที่มีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ขณะที่ผู้ผลิตฝั่งอเมริกาจะโฟกัสไปที่การลดราคามากกว่า

นั้นเพราะว่าแบตเตอรี่ และชิ้นส่วนอื่น ๆ ไม่ได้ผลิตที่อเมริกาเอง หมายความว่า บริษัทอเมริกาได้ลงทุนไปมากแล้วเกี่ยวกับพาร์ทและชิ้นส่วนต่าง ๆ ในการประกอบรถยนต์ไฟฟ้า Li กล่าวไว้

จีนเองถือว่าเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าเจ้าใหญ่เช่นกัน

ในความเป็นจริงแล้ว เหตุผลหลักที่ BYD ประสบความสำเร็จ คือ การตัดสินใจเริ่มผลิตแบตเตอรี่ได้ไว ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิตไปได้มาก Zhong Shi นักวิเคราะห์จาก China Automobile Dealers Association กล่าวไว้

BYD แซง Tesla ในเรื่องยอดการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2023 และยัง BYD ทำยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าชนะ Tesla ไปในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้วอีกด้วย

แต่สำหรับผู้ผลิตฝั่งยุโรปยักษ์ใหญ่อย่าง Volkswagen กำลังเผชิญปัญหาการปรับตัวให้เข้ากับกระแสอันรุนแรงของรถยนต์ไฟฟ้าจากจีน ขณะที่บริษัทในจีน อย่าง Xiaomi ผู้ผลิตสมาร์ทโฟน และ Geely เครือใหญ่ที่หนุนหลังให้ค่ายรถยนต์ไฟฟ้า starup อย่าง Zeekr กำลังเร่งปล่อยรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ ๆ มาเรื่อย ๆ

“ฉันคิดว่าระบบของเยอรมันมักจะเริ่มพัฒนาจากรากฐานอย่างพวกโครงสร้าง และเครื่องยนต์ แต่กลับกัน ที่จีนนั้นพัฒนาจากบนสู่ล่าง ที่จะเห็นได้ว่าเน้นไปที่ระบบดิจิทัลมากกว่า” Omer Ganiyusufoglu สมาชิกของ German’s National Academy of Science and Engineering

หากพูดถึงการออกแบบรถ วิศวกรชาวเยอรมันมักจะเริ่มนึกถึงเรื่องของแรงม้าหรือพละกำลังก่อนเสมอ ในขณะที่ชาวจีนนั้นวิศวกรจะเริ่มจากการออกแบบของการออกแบบห้องโดยสารก่อน รวมถึงเรื่องของการใช้สอยภายในมากกว่า

จีนพยายามผลักดันระบบช่วยขับขี่อัตโนมัติ

ระบบช่วยขับขี่อัตโนมัติในปีที่แล้วเป็นฟีเจอร์ที่สำคัญมาก ๆ ในรถ EV ของจีน

ระบบการขับขี่อัตโนมัติของ Tesla ช่วยให้สามารถขับขี่บนถนน highway ได้เรียกว่าระบบ Autopilot ในจีนสามารถใช้งานได้ แต่สำหรับระบบ Full Self Driving (FSD) ยังไม่เปิดให้ใช้งานรวมกับถนนในเมืองจีน

กฎของประเทศจีนนั้น อนุญาตให้ผู้โดยสารสามารถใช้ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ได้ในเมืองได้อย่างอิสระ เช่น ระบบช่วยเบรคอย่างนุ่มนวลขณะจอดกลางแยกไฟจราจร รัฐบาลจีนได้ออกมาประกาศในช่วงเดือนพฤศจิกายน ว่าประเทศจีนจะผลักดันและร่วมพัฒนาระบบช่วยเหลือการขับขี่และระบบขับขี่อัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ ที่รัฐเรียกว่า Pilot Program

อย่างไรก็ตาม เราก็ยังฟันธงไม่ได้ว่าลูกค้าส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มที่ยอมจ่ายให้กับฟีเจอร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากกว่า

“แม้ว่าลูกค้าในจีน จะชี้ให้เห็นจากผลสำรวจว่ามีแนวโน้มที่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าที่ให้เรื่องของความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน และระบบนำทางที่ดี เช่น ระบบความปลอดภัยอัจฉริยะ Advanced driver assistance system แต่แล้วคำตอบของลูกค้าเหล่านี้กลับเปลี่ยนไป หากถามลึกลงไปในความต้องการของระบบ ADAS” คำกล่าวจาก Shay Natarajan พาร์ทเนอร์ของบริษัท Mobility Impact Partners (บริษัทเอกชนที่ลงทุนเกี่ยวกับการคมนาคม)

Natarajan กล่าวอีกว่า “ADAS มีฟีเจอร์หลายมากถึง 20 ระบบ” บอกได้ว่าระบบที่ยอดนิยมมากที่สุดคงหนีไม่พ้นระบบช่วยเตือนมุมอับสายตา และระบบกล้องระบบคัน 360 องศา “ต้องอย่าลืมว่า FSD ยังไม่ใช้ระบบที่ดีที่สุดของ ADAS ที่ลูกค้าอยากจะจ่าย”

ที่มา : cnbc

แสดงความคิดเห็น

เขียนโดย Nuttanon P.