ใน

Mercedes-Benz เดินหน้าแผน Circular Economy ลุยโปรเจกต์ “Urban Mining” สู่การสร้างวัสดุทดแทนชิ้นส่วนรถยนต์ในขั้นตอนการผลิต

Mercedes-Benz ริเริ่มโปรเจกต์ “Urban Mining” หรือการทำเหมืองในเมือง นำชิ้นส่วนรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ ที่ครบอายุการใช้งานกลับมาสร้างคุณค่าใหม่ พร้อมเดินหน้าสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุทดแทน (Secondary Raw Materials)

Mercedes-Benz เดินหน้าแผน Circular Economy ลุยโปรเจกต์ “Urban Mining” สู่การสร้างวัสดุทดแทนชิ้นส่วนรถยนต์ในขั้นตอนการผลิต

  • เมอร์เซเดส-เบนซ์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ TSR Recycling ผลักดันกลยุทธ์เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สู่การบรรลุวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืน
  • มุ่งสู่เป้าหมายที่จะขยายสัดส่วนของการใช้วัสดุทดแทน ในการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ เพิ่มขึ้น 40% ภายในปี พ.ศ. 2573

(เมืองสตุทท์การ์ดต, ประเทศเยอรมนี) เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประกาศลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ร่วมกับ TSR Recycling GmbH & Co. KG โดยมีเป้าหมายในการผลักดันกลยุทธ์เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ภายใต้โปรเจกต์ “Urban Mining”หรือการทำเหมืองในเมือง ซึ่งเป็นการนำชิ้นส่วนรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ ที่ครบอายุการใช้งานกลับมาสร้างคุณค่าใหม่ ทั้งการรีไซเคิลและการนำกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิต พร้อมเดินหน้าสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุทดแทน (Secondary Raw Materials) ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายเศรษฐกิจหมุนเวียนในยุโรป โดยมุ่งเน้นไปที่วัสดุที่มาจากเหล็ก อลูมิเนียม โพลิเมอร์ ทองแดง และแก้ว นอกจากนี้ ในบันทึกข้อตกลงยังเพิ่มเติมไปถึงการวิเคราะห์ความต้องการและแหล่งที่มาของวัสดุ รวมถึงการประเมินผลเชิงพาณิชย์ โดยความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมองค์กร เพื่อก้าวสู่เป้าหมายในการแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

Markus Schäfer คณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท เมอร์เซเดสเบนซ์ กรุ๊ป เอจี กล่าวว่า “ด้วยวิสัยทัศน์ ‘Design for Circularity’ ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ เราได้คำนึงถึงความสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียนตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการผลิตรถยนต์ โดยมีเป้าหมายที่จะลดการใช้วัสดุจากแหล่งธรรมชาติ (Primary Resources) ด้วยการเก็บรักษาวัสดุตั้งต้นต่างๆ ไว้ในขั้นตอนการผลิตให้ได้มากที่สุด ซึ่งเราคาดว่าจะสามารถลดการใช้วัสดุจากแหล่งธรรมชาติเหล่านี้ ในการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ลงให้ได้ถึง 40% ภายในปี พ.ศ. 2573 เมื่อเทียบกับกระบวนการผลิตรถยนต์แบบดั้งเดิม ในการร่วมมือพันธมิตรเรามีเป้าหมายเพื่อเพิ่มสัดส่วนของวัสดุทดแทน (Secondary Raw Materials) ที่มาจากการรีไซเคิลชิ้นส่วนของรถยนต์ เมอร์เซเดส-เบนซ์ พร้อมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ เรายังเล็งเห็นถึงศักยภาพในการทำ “Urban Mining” ซึ่งเป็นวิธีที่คุ้มค่าต่อการลงทุนและสามารถอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีค่า ผ่านระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน”

ความร่วมมือครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงชิ้นส่วนวัสดุทดแทนที่จะถูกส่งออกไปยังทุกภาคส่วน รวมถึงประเทศอื่น ๆ ได้อย่างเต็มกำลัง โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่เรียกว่า “Downcycling” ซึ่งเป็นกระบวนการที่วัสดุจะถูกลดมูลค่าลง แต่ยังช่วยยืดอายุให้วัสดุเหล่านี้สามารถนำไปสร้างเป็นสิ่งใหม่ได้ สำหรับหนึ่งตัวอย่างความร่วมมือระหว่างเมอร์เซเดส-เบนซ์ บริษัทTSR และซัพพลายเออร์เจ้าใหญ่ คือการรีไซเคิลอลูมิเนียมให้กลายเป็นวัสดุชนิดใหม่ ซึ่งวัสดุชนิดใหม่นี้จะกลายเป็นนวัตกรรมแรกของโลกที่ประกอบด้วยอลูมิเนียมที่ถูกรีไซเคิลหลังการใช้งาน (Post-Consumer Recycled Aluminium) สูงถึง 86% และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศได้ถึง 73% โดยผลทดสอบการหลอมขึ้นรูปชิ้นส่วนต้นแบบในครั้งแรกนับว่าประสบความสำเร็จและกำลังอยู่ระหว่างการประเมินผลต่อไป โดยเมอร์เซเดส-เบนซ์ คาดหวังที่จะนำเข้าสู่กระบวนการผลิตรถยนต์ให้ได้โดยเร็วที่สุด

Mercedes-Benz will mit Urban Mining die Kreislaufwirtschaft vorantreiben
Mercedes-Benz aims to drive circularity through urban mining

เมอร์เซเดสเบนซ์ มุ่งมั่นรับผิดชอบการดำเนินธุรกิจด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต โครงการริเริ่มดังกล่าวนี้ถือเป็นกุญแจสำคัญในการบรรลุวิสัยทัศน์ “Ambition 2039” ซึ่งมีเป้าหมายในการทำให้กระบวนการผลิตรถยนต์ใหม่ของเมอร์เซเดสเบนซ์ มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.. 2582

แสดงความคิดเห็น

เขียนโดย Nuttanon P.