ใน , ,

เยอรมันขึ้นเป็นอันดับ 1 ด้านการผลิตรถ EV ในยุโรป และครองอันดับ 2 ของโลก 

ผู้ผลิตชาวเยอรมันได้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (BEV และ PHEV) ไปแล้วกว่า 1.27 คันในปี 2023 ขึ้นเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากจีน แต่สำหรับปี 2024 อาจจะไม่เป็นเหมือนเดิม

เยอรมันขึ้นเป็นอันดับ 1 ด้านการผลิตรถ EV ในยุโรป และครองอันดับ 2 ของโลก

สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์เยอรมัน (VDA) กล่าวว่ารถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด 995,000 ถูกผลิตออกจากโรงงานของเยอรมันในปี 2023 ฝั่งประเทศจีนยังคงครองในเรื่องของการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของโลกอยู่ แต่รถยนต์ไฟฟ้าของจีนส่วนใหญ่ถูกขายในจีนเท่านั้น ทางตรงกันข้ามรถยนต์ไฟฟ้าของเยอรมันกว่า 76% ถูกส่งออกไปขายต่างประเทศ

ฝั่งสหรัฐครองตำแหน่งอันดับที่ 3 สำหรับผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของโลก เยอรมันมีแบรนด์ที่เป็นผู้เล่นหลักอย่าง Volkswagen, BMW และ Mercedes-Benz ทั้ง 3 แบรนด์เป็นผู้นำให้กับยุโรปด้วยการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่จำนวนมากกว่าการผลิตจากสเปน (256,000 คัน​) และฝรั่งเศส (225,000 คัน​) รวมกัน

DW รายงานช่วงในช่วงเดือนธันวาคมว่า “Federal Motor Transport Authority ได้คำนวนว่ารถยนต์ไฟฟ้ากว่า 10 ล้านคันจะถูกลงทะเบียนในเยอรมันในวันที่ 1 มกราคม 2030 ขึ้นอยู่กับขนาดของคลังการผลิตรถยนต์ และจะสอดคล้องกับส่วนแบ่งอยู่ที่ประมาณ 20-25% สำหรับตลาดรถยนต์ไฟฟ้า”

อย่างไรก็ตาม โรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของเยอรมันในปี 2024 อาจจะไม่ได้ราบรื่นอย่างที่ควร รัฐบาลของเยอรมันได้ออกโครงการเงินอุดหนุนใหักับรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อสนับสนุนการดำเนินการไปจนจบปี 2024 กลับถูกระงับอย่างกะทันหันในเดือนธันวาคมหลังจากงบประมาณของปี 2024 ได้รับการแก้ไข ศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีสร้างช่องโหว่ 60 พันล้านยูโร (ประมาณ 23 หมื่นล้านบาท) ในงบประมาณของรัฐ ทําให้รัฐบาลต้องยกเลิกโครงการต่าง ๆ ลง

โครงการของรัฐบาลเสนอเงินสูงสุดถึง 6,750 ยูโร (ประมาณ 266,000 บาท) ซึ่งจะได้รับทุนจากรัฐและผู้ผลิตรถยนต์ ขึ้นอยู่กับมูลค่าของรถยนต์ไฟฟ้า ณ วันที่ 1 มกราคม 2024 เงินอุดหนุนของรัฐบาลกลางของเยอรมนีสําหรับรถยนต์ไฟฟ้า BEV ด้วยราคาปลีกสุทธิสูงถึง 45,000 ยูโร (ประมาณ 1.8 ล้านบาท) จะได้เงินอุดหนุน 3,000 ยูโร (ประมาณ 118,000 บาท) ผู้ผลิตต้องสนับสนุน 1,500 ยูโร (ประมาณ 59,000 บาท) จากเงินอุดหนุนทั้งหมด 4,500 ยูโร อย่างไรก็ตาม (ประมาณ 178,000 บาท) รถยนต์ไฟฟ้าที่มีราคามากกว่า 45,000 ยูโร จะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินทุนอีกต่อไป

ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมันต้องเผชิญกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ รวมถึงความซับซ้อนของห่วงโซ่อุปทาน ทําให้เยอรมันอยู่เบื้องหลังแบรนด์อย่าง Tesla และ OEM ให้กับจีนด้วย เนื่องจากเทคโนโลยีของรถยนต์ไฟฟ้าที่ล้ำหน้าและมีประสิทธิภาพกว่า นอกจากนี้ ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมันมักจะต้องร่วมมือกับบริษัทในอเมริกาและเอเชียตะวันออกเพื่อตอบสนองความต้องการด้านแบตเตอรี่ ซึ่งนําไปสู่ปัญหาการพึ่งพาอาศัยกันและการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่ช้าลง

แต่เยอรมนีก็กําลังพยายามเพิ่มความสามารถในการผลิตแบตเตอรี่ โดยบริษัทต่าง ๆ เช่น Volkswagen ได้ร่วมมือกับบริษัทต่าง ๆ เช่น Northvolt เพื่อเกาะส่วนแบ่งตลาดสําหรับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้านั่นเอง

ที่มา : Electrek

แสดงความคิดเห็น

เขียนโดย Nuttanon P.