Hyundai Motor และ Kia ปล่อยเทคโนโลยีที่เพิ่มประสิทธิภาพของแอโรไดนามิกส์ให้กับรถยนต์ไฟฟ้า Active Air Skirt (AAS) พับและกางตามความเร็วของตัวรถ ที่ทางแบรนด์พยายามผลักดันให้ SUV ไฟฟ้าสามารถขับขี่ได้อย่างเสถียรและมีประสิทธิภาพ
Hyundai และ KIA เผยระบบ Active Air Skirt (AAS) เพิ่มประสิทธิภาพให้รถ EV ในความเร็วสูง
ทาง Hyundai Motor Co. และ Kia Corp ได้เผยเทคโนโลยีใหม่อย่าง Active Air Skirt (AAS) ที่ช่วยลดการต้านของลมขณะที่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ใช้ความเร็วสูง ซึ่งจะช่วยให้ขับขี่ได้นิ่งมากขึ้นรวมถึงเพิ่มระยะที่วิ่งได้ต่อการชาร์จอีกด้วย
ระบบ AAS จะควบคุมการไหลผ่านของลมในช่วงล่างใต้กันชนหน้า เพื่อให้เกิดการดันลมให้ผ่านล้อคู่หน้า
อ้างอิงจากแหล่งข่าวของผู้ผลิตทั้ง Hyundai และ Kia กล่าวว่า “ในยุคของรถ EV คู่แข่งต่างก็แข่งขันกันอย่างดุเดือด เพื่อจะทำให้รถยนต์ไฟฟ้าของตนมีระยะที่วิ่งได้ไกลขึ้นต่อการชาร์จ ด้วยการพึ่งพาแอโรไดนามิกส์กับตัวรถนั้นถือว่าสำคัญมาก ๆ” และทางสื่อได้กล่าวอีกว่า ” การรีดประสิทธิภาพจากแอโรไดนามิกส์ไม่ได้ช่วยแค่เรื่องของสมรรถนะที่ดี แต่ยังช่วยในเรื่องของการบขับขี่อย่างมั่นคง และเรื่องของเสียงรบกวนในห้องโดยสารอีกด้วย”
ทางแต่ละผู้ผลิตต่างก็กำลังพยายามหาวิธีเพื่อลดค่าสัมประสิทธิ์แรงฉุดดึงหรือค่า Cd ที่ซึ่งแรงดันลมจะมีแรงกระทำตรงกันข้ามกับตัวรถนั้นเอง
AAS จะถูกติดตั้งอยู่ที่ใต้กันชนหน้า ที่จะพับซ่อนไว้หากขับขี่ในความเร็วที่ไม่สูง และจะกางออกมาต่อเมื่อใช้ความเร็วเกิน 80 กม./ชม. คือช่วงที่เริ่มมีแรงต้านลมสูงมากกว่าความเร็วที่ตัวรถวิ่งอยู่ และจับพับกลับทันทีที่ความเร็วต่ำกว่า 70 กม./ชม.
อีกทั้งระบบ AAS จะกางออกมาคลุมแค่ช่วงล้อหน้าเท่านั้น ไม่ได้กางลงมาปิดทั้งแผงด้านหน้า ที่จะสัมพันธ์กับการใช้แพลตฟอร์มอย่าง Hyundai Motor Group’s E-GMP platform สำหรับรถ EV ที่แบนเรียบไปกับด้านใต้ของตัวรถทำให้ไม่มีส่วนที่ยื่นล่างมาต้านลมแต่อย่างใด เมื่อระบบทั้งสองใช้งานรวมกันจะพัฒนาประสิทธิภาพแอโรไดนามิกส์ได้จากการกางออกคลุมล้อหน้า ยังเพิ่มแรงกดให้กับตัวรถได้อีกทำให้การควบคุมตัวรถที่ดีและเสถียรมากในช่วงความเร็วสูง
AAS ยังสามารถทำงานได้แม้ว่าจะใช้ความเร็วสูงกว่า 200 กม./ชม. ต้องขอบคุณการที่เลือกใช้ยางเป็นวัสดุของแผ่นสเกิร์ตชิ้นส่วนนี้ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการรับแรงกระแทกจากวัตถุต่าง ๆ ขณะการขับขี่ความเร็วสูงได้และยังสามารถใช้งานได้อย่างคงทน
Hyundai Motor และ Kia ประกาศว่าพวกเขาจะทำการทดสอบและพยายามลดค่าสัมประสิทธิ์แรงฉุดดึงหรือค่า Cd ประมาณ 0.008 ซึ่งเพิ่มมาถึง 2.8% ด้วยการติดตั้ง AAS ในรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Genesis GV60 ที่ระบบ AAS นี้ช่วยเพิ่มระยะการวิ่งได้มากถึง 6 กม.
รถยนต์ไฟฟ้า Genesis GV60
Hyundai Motor และ Kia ได้จดสิทธิบัตรในประเทศเกาหลีร่วมกับสหรัฐอเมริกา และมีแผนที่จะเริ่มผลิตแบบ mass production หลังจากผ่านการทดสอบทั้งเรื่องของความทนทาน และสมรรถนะ
Sun Hyung Cho ประธานผู้บริหาของ Mobility Body Development Group ที่ Hyundai Motor Group กล่าวว่า “เทคโนโลยีนี้จะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแอโรไดนามิกส์ให้กับรถยนต์ไฟฟ้าแบบ SUV ที่ถือว่าทำเรื่องนี้ได้ยากที่สุด” และยังกล่าวอีกว่า “เราจะพยายามมุ่งมั่นพัฒนาให้การขับขี่มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และทำให้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถขับขี่อย่างเสถียรด้วยหลักการแอโรไดนามิกส์”
Hyundai และ Kia ก็ใช้ส่วนอื่น ๆ ทำงานรวมด้วย เช่น สปอยเลอร์ด้านหลัง ช่องดักอากาศแบบแอคทีฟ ช่องดักอากาศที่ซุ้มล้อข้าง แผ่นลดช่องว่างระหว่างยาว ที่ทั้งหมดนี้ช่วยให้ค่า Cd ทำได้อย่างดีเยี่ยม Hyundai IONIQ 6 ถือว่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีค่า Cd นำระดับโลกด้วยค่าเพียง 0.21
รถยนต์ไฟฟ้า Hyundai IONIQ 6
ดังนั้นสำหรับหลาย ๆ แบรนด์ที่เริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้านั้น เรื่องแอโรไดนามิกส์ถือว่าสำคัญมาก เพราะรถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพที่แรงกว่ารถยนต์สันดาป ดังนั้นการขับขี่ที่ดี และยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถขับขี่ได้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นถือว่าสำคัญมาก
ที่มา : repairedrivennews