ใน ,

EEC เปิดข้อเสนอการลงทุนผลิต EV ยกเว้นภาษีสูงสุด 15 ปี ดึง Tesla ตั้งโรงงานในไทย

หลังจากที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีประเทศไทยได้เดินทางไปประชุม UNGA ประเทศสหรัฐอเมริกาช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา และเข้าพบกับ Elon Musk ซีอีโอของบริษัท Tesla เพื่อหารือด้านธุรกิจภายใต้การควบคุมของ Elon Musk ล่าสุดด้าน EEC ของไทยก็ได้เสนอแพ็กเกจการลงทุตนต่อนกยกรัฐมนตรีแล้ว

EEC เปิดข้อเสนอการลงทุนผลิต EV ยกเว้นภาษีสูงสุด 15 ปี ดึง Tesla ตั้งโรงงานในไทย

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เผยว่าหลังจากที่ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกชุดใหม่ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา คณะกรรมการได้มีการกำหนดเป้าหมายเพื่อดึงดูดการลงทุนทั่วโลกผ่านอุตสาหกรรมเป้าหมาย ใน 5 คลัสเตอร์หลัก ได้แก่ การแพทย์ ดิจิทัล ยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) BCG และบริการ สอดคล้องตามนโยบายหลักของรัฐบาล เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ที่ยั่งยืน เพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศ

สำหรับการเจรจากับ Tesla นั้น EEC ได้เสนอแพคเกจลงทุนสูงสุดให้นายกรัฐมนตรีสำหรับการพิจารณา ได้แก่ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 15 ปี รวมทั้งการยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ ทั้งอุปกรณ์และชิ้นส่วน การให้วีซ่า ระยะยาวในการพำนักในไทยสูงสุด 10 ปี ทั้งในผู้เชี่ยวชาญระดับสูง ผู้บริหารรวมทั้งผู้ติดตาม และการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Flat rate) เหลือ 17% ขณะที่การคิดค่าเช่าพื้นที่สร้างโรงงานสูงสุด 99 ปี

ในช่วงระหว่างที่มีกำหนดเดินทางไปร่วมประชุม APEC ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนพฤศจิกายนนี้ คาดว่านายกรัฐมนตรี จะนำแพคเกจลงทุนดังกล่าวหารือเจรจากับ Tesla เพื่อเชิญชวนให้ Tesla เข้ามาลงทุนตั้งโรงงานในประเทศไทย

ในปีที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติมาตรการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการลงทุนและความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยประกอบด้วย

  • การอุดหนุนเงินสูงสุดถึง 150,000 บาท สำหรับรถ EV ที่ผลิตลงทุนในประเทศ
  • การยกเว้นภาษีนิติบุคคลสูงถึง 13 ปีสำหรับการตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนในประเทศไทย
  • การยกเว้นภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปและชิ้นส่วนเทคโนโลยีสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้าในระยะเริ่มต้น
  • การลดอัตราภาษีสรรพสามิต
  • การลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจดทะเบียนรถ
  • การได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีด้านการส่งออกผ่านกรอบข้อตกลง FTAs ซึ่งทำให้การส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนจากไทยไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนและเอเชียแปซิฟิกเสียภาษีใกล้เคียงศูนย์

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการส่งเสริมที่ไม่ใช่การเงิน เช่น การเร่งขยายโครงข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า โดยมีเป้าหมายติดติดตั้งสถานีชาร์จให้ได้ 12,000 แห่งทั่วประเทศภายในปี 2573

ก็ต้องรอติดตามกันต่อไปว่า การเจรจาระหว่างนายกรัฐมนตรีประเทศไทยและ Tesla นั้นจะบรรลุข้อตกลงอะไรบ้าง เนื่องจากที่ผ่านมากำลังซื้อรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ในประเทศไทยยังน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศจีน และต้องดูกันต่อว่าการดำเนินงานของ Tesla จะเข้ามาตรการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยหรือไม่

ที่มา bangkokbiznews

แสดงความคิดเห็น

เขียนโดย Sakura P.